ผ่อนคลาย ไม่เครียด ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประจำเดือนขาดได้ ควรพยายามทำร่างกาย และจิตใจให้ผ่อนคลาย อาจจะไปเที่ยว ทำงานน้อยลง ทำจิตใจให้สบาย ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
 
หมั่นสังเกตร่างกาย เมื่อประจำเดือนเริ่มหายไปแม้เพียงเดือนเดียว ควรเริ่มจดบันทึกเพื่อดูว่าประจำเดือนหายไป หรือแค่มาช้ากว่ากำหนด และคอยสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีน้ำนมไหลออกมาทั้งที่ไม่ตั้งครรภ์หรือไม่ มีอาการปวดท้องผิดปกติ มีขน มีหนวดขึ้นผิดปกติ หรือไม่

ไม่หักโหมออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายด้วยความเหมาะสม ไม่ออกกำลังกายหนัก หรือมากเกินไป โดยเฉพาะหากเป็นผู้หญิงที่ผอม มีไขมันน้อย อาจจะเน้นการออกกำลังกายที่เน้นการเพิ่มกล้ามเนื้อ แทนการออกกำลังกายที่ออกแรงเยอะ ๆ เพื่อลดไขมัน เช่น อาจจะโยคะ แทนการวิ่ง
 
ควบคุมน้ำหนัก ให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ไม่อ้วนไป หรือผอมไป หากรู้ตัวว่าผอม หรือมีสัดส่วนไขมันในร่างกายน้อย ควรรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนัก เน้นอาหารที่เพิ่มไขมันดี หรือหากน้ำหนักตัวเยอะ อาจจะค่อย ๆ ลดน้ำหนัก แต่ไม่ควรอดอาหาร หรือลดน้ำหนักเร็วเกินไป
 
 

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ รับประทานให้ครบ 3 มื้อ และ เน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจจะเน้นอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม เพิ่มขึ้น
 
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
 
พบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว หากประจำเดือดขาดหายไป ควรไปพบแพทย์ หรือ สูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่ประจำเดือนหายไป ว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ เพื่อตรวจรักษา โดยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจภายใน อัลตราซาวด์ ตรวจดูระดับฮอร์โมน ฯลฯ
 
 
 
 
ประจำเดือนไม่มา (ประจำเดือนขาด) ควรรักษาอย่างไร?
การรักษา “ภาวะประจำเดือนขาด” นั้น รักษาได้หลายวิธี โดยต้องหาสาเหตุให้พบว่าเกิดจากอะไรกันแน่ เช่น
 
 
1. ทานยาฮอร์โมนเสริม
 
หากเกิดจากสาเหตุเช่น ผอมเกินไป อ้วนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่ใช่ความผิดปกติหรือเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ เบื้องต้นเพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ คุณหมออาจจ่ายยาฮอร์โมน ซึ่งเป็นตัวยาเดียวกับยาเลื่อนประจำเดือนที่เราคุ้นเคย ซึ่งเมื่อกินยาแล้ว จะทำให้ประจำเดือนมาได้ โดยอาจให้กินยาเป็นประจำในช่วงเดียวกันของทุก ๆ เดือน ประมาณ 6 เดือน เพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมา และหลังจากนั้นให้ลองดูว่าประจำเดือนมาได้เองโดยไม่จำเป็นต้องกินยาหรือไม่
 
 
2. ทานยาคุมกำเนิด
 
หากมีความผิดปกติ เช่น ถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์อาจจ่ายยาคุมกำเนิดแบบเม็ด หรือยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยรักษาอาการ
 
 
3. ทานยาสตรี
 
สำหรับผู้หญิงในวัยมีประจำเดือน ที่ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนไม่ปกติ ขาดๆ หายๆ “ยาสตรี” ก็เป็นตัวช่วยดีๆ ที่สามารถช่วยปัญหานี้ได้ ซึ่งยาสตรีในท้องตลาดก็มีมากมายหลายยี่ห้อ เราก็ควรเลือกให้เหมาะสม และน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ
ยาสตรียี่ห้อไหนดี? จัดอันดับ 4 ยาสตรีที่ดีที่สุด
 
 
4. รักษาอาการป่วยอื่น ๆ
หากตรวจวินิจฉัยแล้ว พบว่าการขาดหายไปของประจำเดือนเกิดจากความผิดปกติ เช่น เนื้องอกต่อมใต้สมอง มีมดลูกผิดปกติ ก็รักษาโรค หรือ อาการเจ็บป่วยนั้น ๆ เมื่อรักษาหายแล้ว ประจำเดือนก็จะกลับมาได้ตามปกติ
 
 
อาการประจำเดือนไม่มา (ประจำเดือนขาด) ในลักษณะใดที่ควรไปพบแพทย์ทันที
 
สำหรับการขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา 1 เดือน อาจจะไม่มีสาเหตุให้ต้องกังวลมากนัก อาจเกิดจากความเครียด การออกกำลังกายมากเกินไป หรือกินอาหารไม่เพียงพอ แต่หากขาดประจำเดือนนานกว่านั้น หรือขาดประจำเดือน 3 รอบขึ้นไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่ได้เกิดจากอาการเจ็บป่วยใดๆ ที่ทราบอยู่แล้ว หรือเกิดการตั้งครรภ์ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ก รวมถึงมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
 
ปวดศีรษะ
การมองเห็นเปลี่ยนไป มองไม่ชัด ตาพร่า
มีไข้
ผมร่วง
อาเจียน
หน้าอกเปลี่ยนแปลง หรือมีการผลิตน้ำนม
 
นอกจากนี้หากมีลักษณะที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติอื่นๆ ทำให้ประจำเดือนไม่มาควรไปพบแพทย์ทันที คือ เด็กผู้หญิงที่อายุประมาณ 13-15 ปีและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วแต่ประจำเดือนไม่มา โดยไม่มีการพัฒนาทางร่างกายร่วมด้วย เช่น หน้าอกไม่ขยาย ไม่มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
 
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/missed-period.html
https://www.sanook.com/health/19449/