“ประจำเดือนมาน้อย” หรือ เลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด กันแน่นะ!
 
เคยสงสัยกันใช่ไหมว่า เลือดที่เปื้อนกางเกงใน หรือติดกระดาษทิชชู่เวลาซับออกมานั้น ใช่เลือดประจำเดือนหรือเปล่า? เพราะบางทีก็โผล่มาในช่วงที่ประจำเดือนยังไม่สมควรมา หรือก็ออกมาน้อยซะจนไม่น่าใช่ประจำเดือน เลือดออกกะปริบกะปรอย หรือ “ประจำเดือนมาน้อย” จะเป็นอย่างไรกันบ้าง มาหาคำตอบกันค่ะ
 
ประจำเดือนมาน้อย = ประจำเดือน ดังนั้นต้องเกิดขึ้นในช่วงประจำเดือนเท่านั้น
ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่ากำหนดไม่เกิน 7 วัน = ปกติ
เลือดออกกะปริบกะปรอย ≠ ประจำเดือน ดังนั้นมักจะเกิดขึ้นในช่วงอื่น ๆ ของรอบเดือน
แต่! เลือดออกกะปริบกะปรอยที่ออกมาก่อนกำหนดประจำเดือนมา 3 วัน = เลือดประจำเดือน



ประจำเดือน คืออะไร? 
ประจำเดือน คือ เลือดที่มดลูกขับออกมาพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อไม่มีการฝังตัวของไข่ในรอบเดือนนั้นๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกๆ 22-45 วัน แตกต่างกันไปในแต่ละคน ประจำเดือนสามารถมาเร็วหรือช้ากว่าวันที่คาดไว้ได้ประมาณ 7 วัน โดยยังถือว่าปกติ
 
“ประจำเดือนมาน้อย” เป็นแบบไหน? 
ประจำเดือนมาน้อย คือ เลือดที่ออกมาในช่วงที่คุณมีประจำเดือน แต่มีปริมาณน้อยกว่าปกติ หรือมาไม่เกิน 2 วัน โดยอาจจะเป็นเลือดหยดๆ หรือเปื้อนผ้าอนามัยเพียงเล็กน้อย
 
ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ความเครียด หรือการขาดสารอาหารบางชนิด ซึ่งยังไม่มีอะไรต้องกังวลมากค่ะ ตราบใดที่ประจำเดือนยังมาทุกเดือน ไม่ได้หายไปไหน ก็โอเคจ้า
 
แต่ถ้าคุณอยากให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง ขอแนะนำให้ทานยาสตรีนะคะ ยาสตรีที่ทางเรามั่นใจและอยากแนะนำมากๆ ก็คือ ยาสตรีฟลอร่า ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ เป็นยาฟอกเลือด บำรุงเลือด และแถมยังช่วยให้ผิวพรรณผ่องใสอีกด้วยค่ะ
 
 
เลือดออกกะปริบกะปรอย เป็นแบบไหน?
เลือดออกกะปริบกะปรอย คือ เลือดที่ออกมาในช่วงที่คุณไม่ได้มีประจำเดือน โดยมักมีปริมาณน้อยมาก หรือมีปริมาณเดียวกับประจำเดือนมาน้อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้บ้าง แต่ไม่ควรเกิดขึ้นติดต่อกันนานเกิน 7 วัน และไม่ควรเกิดขึ้นเป็นประจำ เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกอาการผิดปกติบางอย่างค่ะ
 
 
 
เลือดออกกะปริบกะปรอย จะนับเป็นเลือดประจำเดือนในกรณีไหนบ้าง?
แม้ว่าปกติแล้ว เลือดประจำเดือน และ เลือดออกกะปริบกะปรอย จะเป็นคนละอย่างกัน แต่ก็มีบางกรณีที่เราจะถือว่าเลือดออกกะปริบกะปรอยคือเลือดประจำเดือน นั่นคือ เลือดออกกะปริบกะปรอยที่เกิดขึ้นก่อนวันที่คาดว่าประจำเดือนจะมา ประมาณ 3 วัน นั่นเองค่ะ
 
 
ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าเลือดที่ออกมาเป็นเลือดชนิดไหน และจะส่งผลอะไรต่อสุขภาพในวันข้างหน้าหรือเปล่า จึงควรบันทึกทุกครั้งที่มีเลือดออกกะปริบกะปรอย และทุกครั้งที่มีประจำเดือน แนะนำว่าคุณควรทำความเข้าใจและจัดการภาวะเจริญพันธุ์การเป็นประจำเดือนของคุณ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงค่ะ
 
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://yesmomfertility.com/blog/th/spot-vs-period/
 
 
—————————————————————————-


“ประจำเดือนไม่มา” เกิดจากอะไร?


เป็นผู้หญิงว่ายากแล้ว การดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ ยิ่งยากกว่า ยิ่งปัญหาที่ผู้หญิงอาจต้องพบเจอ คือ ประจำเดือนไม่มา (Missed Period) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) สาเหตุหลักมักเกิดได้หลายอย่าง เช่น ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล การทำงานของร่างกาย และการได้รับผลกระทบมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น
 
 
สาเหตุของภาวะดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นภายใต้ปัจจัยที่อยู่ในชีวิตประจำวันก็มีผลทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ เช่น น้ำหนักที่มากเกินไป การออกกำลังกายอย่างหนักเกินไป ความเครียด ส่วนสาเหตุที่พบได้เป็นปกติ ได้แก่
 
ภาวะการตั้งครรภ์ ที่สามารถเกิดประจำเดือนไม่มา หรือผู้ที่ให้นมบุตร
 
เกิดได้กับผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทอง โดยปกติแล้วจะพบในช่วงอายุ 45 ปี ขึ้นไป
 
เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายที่ไม่สมดุล เช่น เทสโทสเตอโรนสูง และฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ
 
นอกเหนือจากสาเหตุทั้งหมดที่เกิดขึ้นยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่สามารถพบได้แต่มีไม่มากนัก ได้แก่ การป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม เกิดจากการท้องนอกมดลูก และรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด เป็นต้น
 
 
การตรวจความผิดปกติ ของรอบประจำเดือน
 
แพทย์จะทำการสอบถามประวัติ หรือข้อมูลด้านการใช้ชีวิต หรือ ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย หากผู้ใดที่ประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป แพทย์จะทำการตรวจการตั้งครรภ์ด้วย โดยวิธีที่แพทย์ใช้ตรวจความผิดปกติของรอบประจำเดือนมีอยู่หลายวิธี ได้แก่ การตรวจเลือดเพื่อดูระดับของฮอร์โมน การทำอัลตราซาวด์เพื่อดูความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ และการทำ CT Scan ตรวจหาเนื้องอกบริเวณต่อม หรืออวัยวะต่างๆ เป็นต้น
 
รักษา “ประจำเดือนไม่มา” อย่างไร?
 
ถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์อาจให้ทานยาคุมกำเนิด หรือยาที่มีโปรเจสเตอโรนในการรักษา
 
ต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก ต้องรับยาที่มีผลให้ฮอร์โมนไทรอยด์หยุดผลิตเพื่อทำการรักษา
 
ฮอร์โมนไม่สมดุล รักษาได้ด้วยการรับยาเสริมฮอร์โมน เพื่อให้ระดับฮอร์โมนสมดุล
 
รังไข่เสื่อมสภาพก่อนกำหนด รักษาได้ด้วยการรับยาคุมกำเนิด หรือยาที่เสริมฮอร์โมนเพื่อทดแทน
 อีกอย่างลองทานยาสตรีเพื่อปรับฮอร์โมน ดู 
 
ภาวะประจำเดือนไม่มาเป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิง ที่ไม่ควรมองข้าม และสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นก็มีหลายสาเหตุ สำหรับการรักษานั้นก็ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยก่อนเท่านั้นเองค่ะ
 
 
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/ประจำเดือนไม่มา