ประจําเดือนไม่มา ประจําเดือนขาด หรือ ภาวะขาดประจำเดือน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยของผู้หญิงทั่วไป ซึ่งโดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกในระหว่างอายุ 11-14 ปี* ถ้าเลยอายุ 15 ปีไปแล้วและประจำเดือนยังไม่มาก็ถือว่าผิดปกติ ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า “ภาวะประจำเดือนไม่เคยมา” ส่วนในผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาแล้ว แล้วอยู่ ๆ ประจำเดือนก็ไม่มาหรือขาดหายไปติดต่อกัน 3 เดือน ด้วยสาเหตุต่าง ๆ จะเรียกว่า “ภาวะประจำเดือนขาด” ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยกว่าภาวะประจำเดือนไม่เคยมา (ถ้ายังไม่ถึง 3 รอบเดือนจะเรียกว่า “ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด”) การที่ผู้หญิงมีเลือดประจำเดือนออกมาทุกเดือนเป็นปกตินั้น จะต้องมีระบบการสร้างฮอร์โมนและมีระบบโครงสร้าง (กายวิภาค) ของระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ โดยฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือน คือ Gonadrotropin releasing hormone (GnRH) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากสมองส่วนลึกในสมองใหญ่ ซึ่งจะไปกระตุ้นเนื้อเยื่อส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง ให้สร้างฮอร์โมนเอฟเอสเอช (Folli cular stimulating hormone – FSH) และฮอร์โมนแอลเอช (Luteinizing hormone – LH) ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้จะไปกระตุ้นรังไข่ ให้สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่จะไปทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรอรับการฝังตัวของตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับตัวอสุจิ เพื่อที่จะตั้งครรภ์ต่อไป แต่หากไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ดังกล่าวจะลดลง ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกและมีการฉีกขาดของหลอดเลือดในโพรงมดลูกออกมาเป็นเลือดประจำเดือนต่อไป นอกจากนั้นระบบโครงสร้าง (กายวิภาค) ของระบบสืบพันธุ์จะต้องมีมดลูก ปากมดลูก และช่องคลอดที่ปกติด้วย เพื่อจะให้เลือดประจำเดือนไหลออกมาได้
ประจำเดือนเลื่อนคืออะไร? โดยปกติประจำเดือนจะมาทุกๆ 21-35 วัน และเคลื่อนจากเดิมก่อนหรือหลังไม่เกิน 7 วันถือว่าประจำเดือนมาปกติ แต่ถ้าเลยจากนี้ออกไปถึงจะเรียกว่าประจำเดือนเลื่อน (Delayed period) และอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้
ประจำเดือนเลื่อนได้นานสุดกี่วัน? วันแรกของการมีประจำเดือนในแต่ละรอบอาจห่างกัน 21-35 วัน สามารถบวกลบได้อีก 7 วันและไม่ถือว่าผิดปกติ ขึ้นอยู่กับร่างกายและอายุของแต่ละคน
สาเหตุที่ “ประจำเดือนไม่มา”แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.ภาวะขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ หรือ ภาวะประจำเดือนไม่เคยมา 2.ภาวะขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ หรือ ภาวะประจำเดือนขาด เป็นอุบัติการณ์ที่พบได้ค่อนข้างน้อย คือการที่สตรีไม่เคยมีประจำเดือนมาก่อน โดยใช้เกณฑ์อายุ 15 ปีที่ยังไม่เคยมีประจำเดือน (เกณฑ์เดิมใช้อายุ 16 ปี) หรือใช้เกณฑ์อายุ 13 ปีที่ยังไม่มีลักษณะทางเพศของสตรี เช่น มีการขยายของเต้านม สะโพกผาย มีขนรักแร้และขนที่อวัยวะเพศขึ้นตามปกติ (เกณฑ์เดิมใช้อายุ 14 ปี) ส่วนสาเหตุการขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมินี้อาจมีสาเหตุเกี่ยวกับความผิดปกติของรังไข่หรือฮอร์โมนภายในร่างกาย หรืออาจเกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้าง (กายวิภาค) ของมดลูกหรือช่องคลอดมาแต่กำเนิด เช่น เยื่อพรหมจรรย์ไม่เปิด ไม่มีมดลูก รังไข่ หรือช่องคลอดมาตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น หรือมีความผิดปกติของโครโมโซมทำให้มีผลต่อการทำงานของรังไข่ แต่ส่วนมากจะมีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตเป็นสาวที่ช้าโดยธรรมชาติ โดยไม่มีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น และมักจะมีประจำเดือนมาก่อนอายุครบ 15 ปี แต่ถ้าเลยจากนี้ไปแล้ว ก็น่าจะเกิดจากสาเหตุที่ผิดปกติดังที่กล่าวมา สาเหตุการขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ คือเยื่อพรหมจารีไม่เปิด เยื่อพรหมจารีคือเยื่อบาง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ปากช่องคลอดและมีขนาดความหนาประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ในกรณีนี้จัดเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดที่เยื่อพรหมจารีไม่ขาดเป็นรูหรือเป็นช่องเปิดสู่ภายนอกเพื่อเตรียมให้เลือดประจำเดือนไหลออกมาเมื่อถึงเวลาที่ประจำเดือนมา โดยผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นจนกว่าจะเข้าสู่วัยที่ควรมีประจำเดือนกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) หรือ ภาวะต่อมเพศหรือรังไข่ไม่เจริญ (Gonadal dysgenesis) เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหลายแบบ ซึ่งแบบที่พบบ่อยที่สุดคือการมีโครโมโซมเดี่ยว X ซึ่งเพศหญิงปกติจะมีโครโมโซม X สองแท่ง แต่ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีโครโมโซม X หนึ่งแท่งที่หายไปหรือมีความผิดปกติ จึงทำให้ต่อมเพศ (รังไข่) ไม่เจริญ ไม่มีประจำเดือน เป็นหมันหรือมีลูกยาก ฯลฯภาวะไม่มีการสร้างของระบบท่อมุลเลอเรียน ( Müllerian agenesis) โรคนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของภาวะไม่มีประจำเดือนแบบปฐมภูมิรองจากภาวะต่อมเพศหรือรังไข่ไม่เจริญ โดยเป็นภาวะที่เนื้อเยื่อในตัวอ่อนชนิดที่เรียกว่า Mullerian duct ซึ่งในภาวะปกติเนื้อเยื่อนี้จะเจริญไปเป็นมดลูก แต่ไม่มีการพัฒนาหรือเจริญไปเป็นมดลูกตามปกติ ทั้งนี้อาจไม่มีการพัฒนาทั้งหมดหรือมีการพัฒนาแต่เพียงบางส่วน แต่รังไข่ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังคงเป็นปกติ เพราะมีการพัฒนามาจากเนื้อเยื่อคนละส่วนกัน ผู้ป่วยจึงมีลักษณะทางเพศของสตรีเป็นปกติ แต่จะไม่มีมดลูกและช่องคลอดกลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน (Androgen insensitivity syndrome – AIS) เป็นกลุ่มของความผิดปกติทางการเจริญทางเพศอย่างหนึ่งที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างแอนโดรเจน รีเซพเตอร์ (Androgen recepter) ซึ่งผลของความผิดปกติเหล่านี้มีหลายอย่างขึ้นกับโครงสร้างและความไว (Sensitivity) ของรีเซพเตอร์ที่ผิดปกติ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีโครโมโซมเป็น XY คือ เป็นชาย จึงไม่มีการสร้างมดลูก และมีต่อมเพศซึ่งเป็นของเพศชายที่คอยสร้างฮอร์โมน แต่เนื้อเยื่อทั่วไปของผู้ป่วยจะไม่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศชาย จึงทำให้ลักษณะภายนอกของผู้ป่วยยังคงเป็นหญิงตามปกติเนื้องอกของสมอง (เนื้องอกและมะเร็งสมอง) โตกดเบียดทับสมองหรือต่อมใต้สมองที่สร้างฮอร์โมนเพื่อการมีประจำเดือน หรือมีเนื้องอกของต่อมใต้สมอง จึงทำให้ระบบการทำงานของฮอร์โมนเสีย ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือนภาวะขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ หรือ ภาวะประจำเดือนขาดเป็นอุบัติการณ์ที่พบได้เป็นส่วนมาก เป็นการที่สตรีเคยมีประจำเดือนมาก่อนแล้วต่อมาประจำเดือนเกิดขาดหายไปไม่มาติดต่อกัน 3 รอบเดือน ซึ่งในภาวะนี้ยังแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ การขาดประจำเดือนตามธรรมชาติ ( เช่น การตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดในช่วงที่ให้นมลูก ช่วงวัยทอง เป็นต้น และการขาดประจำเดือนเนื่องจากมีพยาธิสภาพหรือโรคภายในร่างกายสาเหตุการขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิที่พบได้บ่อย ๆ คือการตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการขาดประจำเดือน เมื่อประจำเดือนที่เคยมาปกติทุกเดือนกลับไม่มา ควรสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ (ควรหาทางพิสูจน์ก่อนเสมอ ก่อนที่จะคิดถึงสาเหตุอื่น ๆ)ความเครียดทางด้านจิตใจ อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนอาจขาดหายไปได้คราวละหลาย ๆ เดือน เนื่องจากความเครียดนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ และการมีประจำเดือนโรควิตกกังวล โรคอารมณ์แปรปรวน ทำให้ประจำเดือนไม่มา ไม่มีความรู้สึกทางเพศการใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดได้เป็นธรรมดาระยะหลังคลอดบุตรหรือการให้นมบุตร จะเป็นหลังแท้งบุตรหรือหลังคลอดบุตรก็ตาม ถ้ายังมีน้ำนมอยู่ก็เป็นเรื่องปกติที่ประจำเดือนจะยังไม่มาจนกระทั่งหย่านมวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนสาเหตุการขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิที่พบได้เป็นส่วนน้อย คือกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง (PCOS) พบเป็นสาเหตุทำให้สตรีในวัยรุ่นมีประจำเดือนผิดปกติบ่อยที่สุด เพราะการที่รังไข่มีถุงน้ำหลายใบจะทำให้กลไกการทำงานของระบบเจริญพันธุ์ผิดปกติไป ทำให้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ที่พบได้บ่อยคือ หลาย ๆ เดือนประจำเดือนจะมาสักครั้ง แต่ละครั้งที่มีประจำเดือนเลือดจะออกมากและนาน แต่สตรีบางรายที่มีอาการมากก็อาจทำให้ประจำเดือนขาดหายไปเป็นปี ๆ เลยก็ได้ หรือบางรายก็อาจมีประจำเดือนกะปริดกะปรอยนานเป็น 10-20 วันมีน้ำนมไหลโดยไม่ได้ตั้งครรภ์ (Galactorrhea) เป็นภาวะที่มีน้ำนมไหลโดยไม่ได้อยู่ในระยะให้นมบุตร เกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น อาจมีเนื้องอกของต่อมใต้สมอง ทำให้ขัดขวางฮอร์โมนที่ห้ามการสร้างน้ำนม จึงมีผลทำให้มีการสร้างน้ำนม ซึ่งจะไปกระทบต่อระบบประจำเดือนอีกทอดหนึ่ง หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ทำให้น้ำนมไหลได้ เช่น ยาทางจิตเวชบางชนิด ยาลดความดันโลหิตบางชนิด เป็นต้นภาวะการทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (โรคของต่อมไทรอยด์) ทั้งต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) และต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ (Hypothyroidism) จะมีผลไปกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือน (GnRH) จึงทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติเนื้องอกของต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไตหรือรังไข่ภาวะโลหิตจาง ในรายที่โลหิตจางมาก ๆ อาจทำให้มีอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือมีประจำเดือนออกน้อยกว่าปกติได้ภาวะไตวายเรื้อรัง หากเกิดขึ้นในสตรีก็อาจทำให้มีประจำเดือนผิดปกติได้ตับแข็ง โรคนี้ในผู้หญิงอาจทำให้มีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรือมีเสียงแหบห้าวคล้ายผู้ชายได้โรคชีแฮน (Sheehan’s syndrome) ทำให้ในช่วงหลังคลอดไม่มีประจำเดือนมาเลยในระยะเวลาที่ประจำเดือนควรจะมาแล้ว ซึ่งเกิดจากต่อมใต้สมองไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่จะไปกระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนเพศหญิงได้โรคคุชชิง (Cushing’s syndrome) ทำให้ประจำเดือนผิดปกติจากการเพิ่มการสร้างฮอร์โมนเพศชาย ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมีน้อยหรือไม่มีเลยการตีบตันของช่องคลอด ปากมดลูก หรือโพรงมดลูก เนื่องจากพังผืดหลั่งการอักเสบในโพรงมดลูกหรือหลังการขูดมดลูกการมีรูปร่างผอมหรืออ้วนเกินไป (Obesity) โดยเฉพาะในสตรีที่อ้วนเกินไป ประจำเดือนมักมาไม่ปกติ สามารถทำให้ขาดประจำเดือนไปได้คราวละหลาย ๆ เดือน เพราะในคนอ้วนผิวหนังสามารถเปลี่ยนเซลล์ไขมันไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะไปมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติโรคกลัวอ้วน (Anorexia nervosa) คือ ผู้ป่วยที่มีความรู้สึกเบื่ออาหารและน้ำ ไม่ยอมรับประทานอาหารจากการกลัวน้ำหนักที่จะเพิ่มมากเกินไป ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างมาก จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือน (GnRH)นักกีฬามาราธอนหรือผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการหลั่งของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือน (GnRH)การฉายรังสี โดยเฉพาะการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะไปทำลายรังไข่ ทำให้รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ ประจำเดือนจึงไม่มาการให้ยาเคมีบำบัด ในการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิด ซึ่งจะมีผลไปทำลายรังไข่ ทำให้รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ ประจำเดือนจึงไม่มาการใช้ยาบางชนิด อาจทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้า, ยารักษาโรคไทรอยด์, antidepressants, antipsychotics, corticosteroids เป็นต้นการผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ทั้ง 2 ข้างร่างกายอ่อนแอจากการเจ็บป่วยเรื้อรังภาวะขาดอาหาร จะเนื่องมาจากภายใน เช่น การดูดซึมอาหารของลำไส้ไม่ดีเอง หรือจากภาวะภายนอก เช่น ในระหว่างสงครามที่อาหารขาดแคลน หรือแม้แต่ในศูนย์อพยพต่าง ๆ จะพบว่ามักมีการขาดหายประจำเดือนร่วมด้วยเป็นประจำประจำเดือนขาด มีผลเสียอย่างไร?เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น หากประจำเดือนขาดเป็นเวลานาน อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น ซึ่งวันดีคืนดีอาจส่งผลให้มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ และหากปล่อยไว้ อาจมีความเสี่ยงเกิดมะเร็งมดลูกได้มีลูกยาก หากอยากมีลูก แต่อยู่ในภาวะที่ประจำเดือนขาด ก็อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพราะส่งผลกับการมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติอาจจะทำไม่ได้อาจมีอาการเจ็บป่วยแฝงอยู่ในร่างกาย ซึ่งการขาดประจำเดือน เป็นอาการหนึ่งของโรค หรือความผิดปกตินั้น จึงควรต้องเข้ารับการตรวจ รักษากระดูกพรุน มวลกระดูกลดลง การขาดประจำเดือน ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนสำคัญต่อการดูดซึมแคลเซียมทั้งที่ไต และระบบทางเดินอาหาร เพื่อนำไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูก การมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำนาน ๆ จึงมีผลให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง หรือในระยะยาวอาจเกิดภาวะกระดูกพรุนได้
การวินิจฉัยหาสาเหตุ ของการขาดประจำเดือน แพทย์สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้จากอายุ ประวัติการมีประจำเดือน ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยาโดยเฉพาะยาคุมกำเนิดและยาฮอร์โมนต่าง ๆ ประวัติอาการร่วมต่าง ๆ (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน) ร่วมกับการตรวจร่างกายและการตรวจภายใน นอกจากนั้นอาจมีการตรวจอื่น ๆ ทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ความผิดปกติที่ตรวจพบ และดุลยพินิจของแพทย์ (ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเหมือนกันทุกราย) เช่น การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจเพื่อดูว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ โดยเป็นการตรวจที่ง่ายและสะดวก สามารถตรวจได้ด้วยตนเองจากการหาซื้อเครื่องตรวจตามร้านขายยา ซึ่งจะมีความไวของตัวทดสอบสูงมากถึง 99% อาจตรวจได้ผลบวกหรือผลลบของการตั้งครรภ์ก็ได้ตั้งแต่ประจำเดือนเลยกำหนดไปได้เพียง 1 วัน เป็นการตรวจที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกหากสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่เคยมีประจำเดือนมาปกติแต่แล้วเกิดขาดหายไปการตรวจระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (Serum beta hCG) ในเลือด เพื่อดูว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริงหรือไม่หากตรวจปัสสาวะแล้วยังไม่แน่ใจ หรือเนื่องจากมีบางกรณีที่การตั้งครรภ์ยังอ่อนมาก จึงตรวจไม่พบฮอร์โมนในปัสสาวะ ก็อาจมีความจำเป็นต้องตรวจเลือด แต่ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีการตรวจปัสสาวะการตรวจอัลตราซาวนด์ โดยเฉพาะการตรวจผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกรานได้ชัดเจนขึ้นว่ามีก้อนเนื้องอกต่าง ๆ หรือเป็นถุงน้ำเล็ก ๆ รอบรังไข่ (PCOS) หรือรังไข่มีความผิดปกติหรือไม่การตรวจไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid function test) เป็นการตรวจเพื่อดูภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่ามีมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ซึ่งแพทย์มักตรวจเมื่อมีผลการตรวจเบื้องต้นต่าง ๆ ออกมาแล้วไม่พบความผิดปกติการตรวจฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin hormone) เป็นการตรวจเพื่อดูระดับฮอร์โมนว่าสูงมากน้อยเพียงใด หากพบว่าอยู่ในระดับสูง อาจบ่งบอกว่ามีเนื้องอกในสมอง ซึ่งแพทย์มักจะตรวจเมื่อผลการตรวจเบื้องต้นอื่น ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วไม่พบความผิดปกติการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า/เอมอาร์ไอที่สมอง ( Magnetic Resonance Imaging Brian) เป็นการตรวจเฉพาะในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยมีเนื้องอกในสมองการตรวจฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH เพื่อดูว่าเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วหรือยังการตรวจหาโครโมโซม (Chromosome study) เป็นการตรวจที่มักทำให้รายที่มีการขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิเพื่อดูว่า มีโครโมโซมผิดปกติเป็นชนิดใด 45XO, 46XX, หรือ 46XY ซึ่งจะใช้เป็นตัวแยกโรคต่าง ๆ ออกจากกันได้ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก :
https://medthai.com/ประจำเดือนไม่มา
https://www.sanook.com/health/19449/